วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1620
         อมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดย  ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ( ในขณะนั้นประมาณสองล้านบาทเศษ) ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
         เริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย การพัฒนาสถิติของประเทศ  เน้นในด้านการปฏิบัติงานสำมะโนและในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ  หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็สนใจส่ง เจ้าหน้าที่มาดูการ ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เพราะประเทศของเขาเองยังไม่มี  โดยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)เครื่องนี้อยู่ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ  

         นับจากวันนั้นมาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวางตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย และเป็นไอบีเอ็มอีกนั่นแหละที่ร่วมบุกเบิกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทำบัญชี เขียนรายงาน นำเสนองาน วาดภาพ และจิปาถะ ก่อนขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กให้เลอโนโวสานต่อ

         จากเครื่องคอมพิวเตอร์แรก ก็มีวิวัฒนาการ Timeline ในการนำมาใช้ในประเทศไทยต่อมา ตามลำดับดังนี้
  • ปี พ.ศ.2507 เดือนมีนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ได้แก่ "เมนเฟรมคอมพิวเตอร์" IBM 1401 ( มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท ) ขนาดพอกับเครื่องถ่ายเอกสารประจำสำนักงาน   ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้งานเก็บบันทึกข้อมูลประชากร การนำมาประมวลผล การสำรวจสำมะโนประชากร เพื่อใช้กำหนดนโนบายเศรษฐกิจและสังคม  จากเดิมต้องใช้เวลานานหลายปี แต่เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงเข้ามาใช้ การรวบรวมข้อมูลประชากรทั่วประเทศสามารถทำเสร็จในเพียง 18 เดือน
  
เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1401
  • ปี พ.ศ. 2507 : ได้เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย กับ ธนาคารกรุงเทพ
  • ปี พ.ศ. 2517 : ตลาดหลักทรัพย์ ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน ในด้านการซื้อขายหุ้น โดยใช้ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
  • ปี พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
  • ปี พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย

ศาสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร 
ผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย


        ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร ผู้ซึ่งนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก และเป็นผู้ริเริ่มการสอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย ได้สิ้นชีวิต เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543 

        ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร เกิดที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2458 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ท่านเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศฟิลิปปินส์ จนสำเร็จปริญญาตรี (B.S.) จาก Far Eastern University และ ปริญญาโท (M.S.) จาก The University of Philippines หลังจากนั้นท่านบินข้ามทวีป ไปศึกษาต่อ ณ.ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ the University of Chicago ได้รับปริญญา MBA เน้นหนักวิชาคณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ 

         ระหว่างที่ศาสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) พร้อม ๆ กับเป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านมองเห็นศักยภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถปฏิวัติการศึกษา และการพัฒนาประเทศไทย ท่านจึงได้หาเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ และทรัพยากรอื่น ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อจัดหา และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์สองระบบแรกของประเทศไทย คือ เครื่อง IBM 1620 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือ่ง IBM 1401 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ในปี พ.ศ.2506

เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1620
เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1401
         สำหรับการสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร ได้จัดหลักสูตรสอนการเขียน Machine Language, Symbolic Language, FORTRAN และ COBOL เป็นแห่งแรกของประเทศ ที่ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัย โดยใช้เครื่อง IBM 1620 ให้นิสิตใช้เรียน และใช้วิ่งโปรแกรมได้เต็มที่ ขณะเดียวกันก็ยังมีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มาขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ทั้งเพื่อการเรียนการสอน และเพื่อการทำวิจัยมากกมาย
         กล่าวได้ว่า จากวิสัยทัศน์ที่ล้ำสมัยนี้ เป็นจุดเริ่มต้น ของการผลิตลุคลากรชั้นนำด้านไอที ให้กับประเทศ ซึ่งมีผลจนถึงทุกวันนี้ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่ภาควิชาสถิตินี้ ยังเปิดโอกาสให้บุคคลภาคนอก เข้ารับการอบรมด้วย จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาไอที และเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาต่อมา ส่วนเครื่อง IBM 1401 ที่ สสช. ก็ใช้ปฏิบัติงานด้านประมวลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เช่นงานสำมโนประชากรเป็นต้น
         ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร ยังเป็นผู้บุกเบิกด้านธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิต โดยที่ท่านเและภรรยา (อาจารย์ประภา กันตะบุตร) เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันชีวิตรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
         ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และรางวัลมากมาย จากการรับใช้ชาติบ้านเมือง ล่าสุดท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสามสถาบันภายในประเทศ และได้รับ Professional Achievement Citation จากสมาคมศิษย์เก่าแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร ไดัรับยกย่องให้เป็น บิดาของวิชาสถิติ และเป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย 

         ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร มีภรรยาคือ อาจารย์ประภา กันตะบุตร ซึ่งท่านก็เป็นนักคณิตศาสตร์เช่นเดียวกับสามี และสืบตระกูลโดยบุตรชายสองคน คือ คุณบุรินทร์ และดร.วิฑิต และบุตรสาวคนเดียวคือ คุณจิตราภา หิมะทองคำ

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่


คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่ - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
  • โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
  • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
  • สายโทรศัพท์ทองแดง

โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป

นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย

หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)

ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25

นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง

ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP

เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ"

หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 ร่วมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535

ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)

ปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537

AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร

ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

5 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณนะคะ กำลังศึกษาที่มาของคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ